ประวัติความเป็นมา ปณิธาน วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
 
 
ประวัติสำนักวิทยบริการ
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยอุบลราชธานี ในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยแรกเริ่ม งานห้องสมุดฝากหนังสือให้ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ดำเนินการเนื่องจากไม่มีสถานที่สำหรับจัดเป็นห้องสมุดให้บริการ เดือนสิงหาคม 2531จึงสามารถเปิดให้บริการ ณ สำนักงานวิทยาลัยอุบลราชธานีคณะวิทยาศาสตร์อาคาร 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น จนกระทั่งมีพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2533 ให้จัดตั้งวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่ม 109 ตอนที่ 131 หน้า 60-88) ห้องสมุดจึงได้ย้ายมาเปิดให้บริการ ณ พื้นที่จัดตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต่อมาปี 2534 จึงย้ายมาเปิดให้บริการ ณ พื้นที่ปัจจุบัน ต่อมาปี 2534 จึงย้ายมาเปิดทำการ ที่อาคารเอนกประสงค์ชั้น 2 และชั้น 4 และในปีเดียวกัน ได้มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2534 เรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัย (ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 108 ตอนที่ 193) งานห้องสมุดจึงได้ยกฐานะพัฒนามาเป็นสำนักวิทยาบริการ เนื่องจาก จำนวนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นทุกปี ประกอบกับอาคารคับแคบ มหาวิทยาลัยจึงได้อนุมัติ ให้สร้างอาคารสำนักวิทยบริการ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 สำนักวิทยาบริการซึ่งประกอบไปด้วยฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายหอสมุด ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา และฝ่ายผลิตและบริการเอกสาร
 
ปรัชญา
เสริมสร้างคุณภาพชีวิตทางปัญญา ของชุมชนและประชาคม
ปณิธาน
เป็นแหล่งบริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุน การเรียน/การสอน การวิจัย บริการชุมชนที่ครบถ้วน
วิสัยทัศน์
สำนักวิทยบริการเป็นแหล่งให้บริการด้านสารสนเทศ สื่อการเรียน การสอน และเทคโนโยลีที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถนำข้อมูลและสื่อต่าง ๆ ประกอบการเรียนการสอน และประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและสังคม
พันธกิจ
พัฒนาสำนักวิทยบริการให้เป็นศูนย์บริการวิชาการ และเป็นเครือข่ายทางการศึกษาวิจัยและบริการ ทั้งในระดับท้องถิ่น และสากล
 
 

หน้าหลัก สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หน้าหลัก
เลขที่ 85 ถนนสถลมาร์ค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190
โทรศัพท์ 045-353137 หรือ 045-353149 โทรภายใน 3137, 3149 หรือ 1820

Started on 10/02/2009 :: Contact us @admin@

ออกแบบสำหรับ 1,024*768 Resolution และ IE5 ขึ้นไป